รู้ได้อย่างไรว่าเริ่มมีไขมันพอกตับ

โดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยแสดงอาการ มักจะตรวจพบจากการตรวจเลือดประจำปี หรืออัลตราชาวนด์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้เล็กน้อย รู้สึกตึงบริเวณใต้ชายโครงขวา ตรวจพบโรคไขมันพอกตับ แบ่งระยะการดำเนินโรคได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแรก เป็นระยะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเนื้อตับ แต่ยังไม่มีการอักเสบหรือพังผืดเกิดขึ้นในตับ
  • ระยะที่สอง เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ หากไม่ควบคุมดูแล และปล่อยให้การอักสบดำเนินไปเรื่อยๆ เกินกว่า 6 เดือนอาจกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
  • ระยะที่สาม การอักเสบรุนแรงต่อเนื่องเกิดพังผืด (brosis) สะสมในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลงแทนที่ด้วยพังผืด
  • ระยะที่สี เชลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่สมารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป ทำให้เกิดตับแข็งมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ


ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันพอกตับ
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ อ้วน โดยเฉพาะการอ้วนแบบลงพุง ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคตับจากไขมันเกาะตับเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไขมันที่เรียกว่าไตรกลีเซอไรด์ ก็เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไขมันเกาะตับ

กรดไขมันอิสระ
ที่มีมากขึ้นจะเป็นตัวทำให้เกิดอนุมูลอิสระทำลายตับ ทำให้เกิดการตายของเซลล์ตับเมื่อการตายนี้เกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ จำนวนเนื้อตับที่ดีเหลือน้อยลง ถูกแทนที่ด้วยพังผืดหรือแผลเป็น จนอาจเกิดตับแข็งในที่สุด หากโรคยังดำเนินต่อไปอาจเกิดภาวะตับวายหรือมะเร็งตับได้

ผู้ป่วยเป็นโรคไขมันพอกตับสิ่งที่ควรทำ

  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สมส่วน
  • ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน หรือภาวะไขมันในเลือดสูงควรควบคุมโรคดังกล่าวอย่างเต็มที่
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน หรือคาร์โบไฮเดรตจำนวนมาก
  • การใช้ยาเพื่อรักษาโรคตับจากไขมันเกาะตับ ยังมีข้อมูลไม่มาก อย่างไรก็ตามพบว่าการใช้สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี ซิลิมาริน หรือ เอร์โซดีอ๊อกซีโคลิก แอสิด สามารถทำให้ระดับ เอ เอส ที (AST) และ เอ แอล ที (ALT) กลับสู่ภาวะปกติ

การวินิจฉัยภาวะไขมันเกาะตับ
การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการตรวจเลือด การตรวจอัลตราชาวนด์ การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะชิ้นเนื้อตับ (iver biopsy) มาตรวจเพื่อดูปริมาณไขมันและการอักเสบรวมถึงระดับผังผืดในตับ การตรวจด้วยเครื่อง Fibroscan ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประเมินปริมาณไขมันในตับรวมถึงระดับพังผืดและตับแข็งได้โดยที่ผู้ป่วยไม่เจ็บตัว

 

แนวทางการรักษาและป้องกันภาวะไขมันเกาะตับ

1. หากมีน้ำหนักตัวมาก ควรลดน้ำหนักโดยให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย โดยการลดน้ำหนักไม่ควรเกินร้อยละ 7 ในช่วงเวลา 3 เดือน
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ : วัน ครั้งละ 30 นาที รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีไขมันต่ำ กากใยสูง และให้พลังงานต่ำ
3. ผู้ป่วยที่มีเบาหวานหรือไขมันในเลือดสูง ควรควบคุมโรคให้ดีด้วยการรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
4. หลีกเลี่ยงการรับประทานยา หรีอผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่นอกเหนือจากที่แพทย์สั่ง
5. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอออลั
6. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ