อาการของโรคหัวใจ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ ต่างกันอย่างไร?

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ

  • อายุ – การมีอายุมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงที่เสียหาย ตีบและกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง
  • เพศ – ผู้ชายทั่วไปมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่า แต่สำหรับผู้หญิงจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม – ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพ่อแม่เป็นโรคนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย (ก่อนอายุ 55 ปีสำหรับผู้ชาย และ 65 สำหรับผู้หญิง)
  • สูบบุหรี่ – สารนิโคตินทำให้หลอดเลือดของคุณมีสภาวะหดตัว และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์สามารถทำลายเยื่อบุชั้นในได้ จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ง่ายขึ้น โดยอาการหัวใจวายพบได้บ่อยในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  • การกินอาหารแบบผิดๆ – อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เกลือ น้ำตาล และคอเลสเตอรอลสูง สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจได้
  • ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้ อาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงแข็งตัวและหนาขึ้นทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง
  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง – ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดที่สูงโดยเฉพาะชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDL-cholesterol) สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคเบาหวาน – โรคเบาหวานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
  • โรคอ้วน– น้ำหนักส่วนเกินมักทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูงเพิ่มมากขึ้น
  • การขาดการออกกำลังกาย – มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ
  • ความเครียด – ปัจจัยเสี่ยงทางด้านจิตใจ อาจส่งผลไปกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น
  • สุขภาพฟันที่ไม่ดี – พบรายงานแพทย์ถึงโรคฟันและเหงือกอักเสบสัมพันธ์กับการเกิดอาการของโรคหัวใจมากขึ้น

อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Heart Arrhythmias)

หัวใจของคุณอาจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือไม่สม่ำเสมอ อาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจรวมถึง

  • หัวใจเต้นสะดุด หรือเต้นเร็ว ๆ รัวๆ (Heart Palpitations)
  • เจ็บหน้าอกหรือรู้สึกไม่สบาย (Chest pain or discomfort)
  • หายใจถี่ (Shortness of breath) หอบง่าย (Dyspnea on exertion)
  • มึนศีรษะ (Lightheadedness)
  • วิงเวียนศีรษะ (Dizziness)
  • เป็นลมหมดสติ (Syncope)

อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากการติดเชื้อ (Heart Infection)


เยื่อบุหัวใจอักเสบ คือการติดเชื้อที่มีผลต่อเยื่อบุด้านในของห้องหัวใจและลิ้นหัวใจ (Endocardium) สัญญาณและอาการของการติดเชื้อที่หัวใจอาจรวมถึง

  • มีไข้หายใจถี่
  • อ่อนแอ เหนื่อยล้า
  • มีอาการบวมที่ขาหรือหน้าท้อง
  • การเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • อาการไอแห้ง
  • มีผื่นขึ้นหรือมีจุดที่ผิวหนัง เล็บ ขึ้นผิดปกติ
อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากหัวใจพิการแต่กำเนิด (Heart Defects) ความบกพร่องของหัวใจพิการแต่กำเนิด มักจะสังเกตเห็นได้หลังคลอดไม่นาน โดยมักมีสัญญาณและอาการผิดปกติของหัวใจในเด็กอาจรวมถึง
  • สีผิวซีดเทา เขียว
  • อาการบวมที่ขา หน้าท้อง หรือบริเวณรอบดวงตา
  • ในทารกมักมีอาการหายใจถี่ระหว่างการให้น้ำนม ทำให้น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้น
  • นิ้วปุ้ม (Clubbing of fingers)
ความบกพร่องของหัวใจพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงน้อยกว่ามักไม่ได้รับการวินิจฉัยจนกว่าจะถึงในวัยเด็กหรือในวัยผู้ใหญ่ สัญญาณและอาการของความบกพร่องของหัวใจพิการแต่กำเนิดมักไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตในทันที ได้แก่
  • หายใจไม่ออกระหว่างออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • เหนื่อยง่ายระหว่างออกกำลังกายหรือทำกิจกรรม
  • อาการบวมที่มือ ข้อ หรือเท้า
  • ปากและเล็บเขียวคล้ำ

อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว (Valvular Heart Disease)


ลิ้นหัวใจทำหน้าที่เปิดและปิดเพื่อให้เลือดไหลผ่านหัวใจในทิศทางเดียว ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจทำลายลิ้นหัวใจได้ โดยอาการแสดงของโรคลิ้นหัวใจตีบและรั่วอาจรวมถึง

  • อาการเหนื่อยล้า
  • หายใจถี่ เหนื่อยง่าย
  • การเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • เท้าหรือข้อเท้าบวม เจ็บหน้าอก
  • เป็นลมหมดสติ

อาการของโรคหัวใจที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)


ในระยะแรกของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ อาจไม่แสดงอาการ แต่เมื่ออาการรุนแรงขึ้น สามารถสังเกตได้จาก

  • หายใจไม่ออกขณะทำกิจกรรมหรือพักผ่อน
  • อาการบวมที่ขา ข้อ และเท้า
  • อาการเหนื่อยล้า เหนื่อยง่าย หายใจถี่
  • นอนราบไม่ได้
  • การเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • เวียนศีรษะ มึนงง และเป็นลม

 

โรคหัวใจจะรักษาได้ผลดีหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับอาการของคุณ หากคนในครอบครัวของคุณมีประวัติเป็นโรคหัวใจ นี่คือสิ่งสำคัญเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

 

 

 

ข้อมูลสนับสนุนจาก : medpark hospital