ความเสี่ยงต่อการเป็นโรค NCDs โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่อันตรายต่อ…คลิกอ่านต่อ
ปรับพฤติกรรม ลดเสี่ยงโรค NCDs กิน อยู่อย่างไรให้ห่างไกลโรค NCDs ..คลิกอ่านต่อ
Risk Factor ปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรม เราปรับเปลี่ยนได้ ..คลิกอ่านต่อ
อาหารต้าน NCDs ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แหล่งรวมสารอาหารเข้มข้น ..คลิกอ่านต่อ
อาการของคนป่วย NCDs  เป็นโรคที่ไม่มีอาการแน่นอนเนื่องจากกลุ่มโรคนี้..คลิกอ่านต่อ

โรค NCDs คืออะไร??

กลุ่มโรค NCDs ชื่อเต็มๆคือ Non Communicable Diseases เป็นกลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง กล่าวคือ เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดมาจากเชื้อโรค อีกทั้งไม่สามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้ ไม่ติดต่อจากการสัมผัส และไม่มีพาหะนำโรค แต่ เป็น NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไม่ระมัดระวัง ที่เกิดการสะสมอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลต่อโรคต่างๆ ซึ่งโรคเหล่านั้นเป็นโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยคนส่วนใหญ่ที่เป็นจะไม่รู้ตัว ซึ่งมันก่อให้เกิดผลกระทบ หรือผลเสีย อย่างมากในการใช้ชีวิตประจำวันของตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง ซึ่งโรคเหล่านี้จะกินเวลานานหากปล่อยทิ้งไว้หรือรักษาไม่ทันเวลา

โรค NCDs หรือ Non-Communicable Diseases เป็นกลุ่ม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรค โดยมักเป็นผู้ป่วยในช่วงวัยทำงาน ที่ใช้ชีวิตไม่ถูกต้อง มีพฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การเกิดโรค เช่น ไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารรสจัดเกินไป ทานอาหารไขมันสูง เครียดสะสม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ทานอาหารประเภทปิ้งย่างบ่อยเกินไป เป็นต้น

ตัวอย่างของโรค NCDsและอาการเตือนที่ควรระวัง

  • โรคเบาหวาน อาการเตือน ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เป็นแผลแล้วหายยาก
  • โรคความดันโลหิตสูง อาการเตือน ได้แก่ ปวดศีรษะบ่อย หลังตื่นนอนจะมึนงง ตาพร่ามัว เหนื่อยง่าย ใจสั่น
  • โรคหลอดเลือดสมอง อาการเตือน ได้แก่ แขนขาอ่อนแรง ชาที่ปลายมือปลายเท้า ปากเบี้ยว พูดลำบาก
  • โรคหัวใจขาดเลือด อาการเตือน ได้แก่ ปวดแน่นบริเวณหน้าอก จุกที่คอหอยหรือลิ้นปี่ หน้ามืด ใจสั่น
  • โรคมะเร็ง อาการเตือน ได้แก่ เป็นแผลเรื้อรังไม่หาย มีตุ่มก้อนที่โตเร็วผิดปกติ ระบบขับถ่ายมีปัญหา มีเลือดออกมาอย่างผิดปกติ
  • โรคอ้วนลงพุง อาการเตือน ได้แก่ ผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90 ซม.และผู้หญิงรอบเอวเกิน 80 ซม. เหนื่อยง่าย ข้อเข่ารับน้ำหนักไม่ไหว

ข้อมูลสนับสนุนจาก : รพ.บำรุงราษฎร์ และ รพ.ขอนแก่น ราม